ไม่ว่าจะเป็นการพูดหรือการเขียนในภาษา อังกฤษ Tense หรือ เรื่อง เวลา "กาล" เป็นเรื่องสำำคัญทีเดียว ต้องให้ความสำคัญกับมันหน่อยนะครับ เดี๋ยวจะหาว่าไม่เตือน
ยก ตัวอย่างนะครับ เขาตีแมว
He runs. เขาวิ่ง (ไม่ได้ระบุเวลา แต่รู้ว่าเขาวิ่ง อาจวิ่งเป็นประจำ) เป็น present tense
He ran เขาวิ่ง (เขาวิ่งไปแล้ว คือ วิ่งไปไหนแล้วก็ไม่รู้ รู้แต่ว่าวิ่งไปแล้ว ..งงมั๊ย) เป็น past tense
He is running (กขากำลังวิ่งอยู่เลย)
He will run. (เขาจะวิ่ง แต่ยังไม่ได้วิ่ง)
เอา แค่นี้พอ.... ถ้าเราพูดคำว่า He runs อย่างเดียว จะไม่สามารถบอกได้เลยว่า เขาทำมันตอนไหน สำคัญใช่ไหมครับ
Tense ในภาษาอังกฤษ มีมากกว่า 6 Tense หลักๆ ที่เราเรียนกันอยู่คือ present tense (ปัจจุบัน) past tense (อดีต) future tense (อนาคต) present continuous tense ( กำลังกระทำอยู่) present continuous tense, past continuous tense โอย..เยอะแยะตาแป๊ะเก็บเห็ด.....
ในการเรียนการส อน.. เราต้องจำให้หมด (แค่ 6 tense ก็ปวดเฮดแล้วครับ ไม่ถึงต้องจำเยอะกว่านั้นร๊อก) แต่ในการพูดจริงๆ หลักๆนะครับ จำแค่ 4 tense ก็พอคือ (แต่ถ้าเอาไว้สอบ ก็ต้องจำให้มันเยอะๆ)
1. Present Tense ปัจจุบันกาล
2. Past Tense อดีตกาล
3. Future Tense อนาคตกาล
4. Present Continuous Tense กาลที่กำลังกระทำอยู่
อันนี้ต้องทยอยพูดถึงที่ละอย่างนะครับ ขืนบอกหมดในทีเดียว คงได้หัวโตกันมั่ง......................
Present Simple Tense ใช้ยังไง
(อ้าว.. เพิ่ม simple มาได้ยังไง จริงๆแล้วมันเป็นสาขาย่อยของ Present Tense น่ะครับ ในที่นี้ให้เข้าใจเอาว่า เป็น Present Simple Tense ก็แล้วกันนะครับ)
Present Tense ใช้ง่ายครับ (อ้าว.. ตอบแบบกำปั้นทุบดินนี่หว่า) เป็นปัจจุบันกาลใช้กับ
1. เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
2. เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยๆ
3. เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นธรรมชาติ
4. เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น...ง่า... นึกไม่ออกครับ เอาไว้ถ้านึกได้แล้วจะมาบอก
5. เอาง่ายๆคือ มันไม่ใช่อดีต หรืออนาคต หรือกำลังกระทำอยู่ ก็ใช้ Present Simple Tense แล้วกัน
จำ ได้แล้วว่า ใช้ยังไงก็ค่อยมาจำรูปแบบของมันนะครับ
ประธาน + กริยาช่องที่ 1 ง่ายสุดเลยใช่ไหมเล่า
ที่นี้ มันก็ไปสัมพันธ์กับประธานนะครับ จำเป็นมากๆ คือ
ประธานเอกพจน์ (หน่วยเดียว) กริยาเติม S
ประธานพหูพจน์ (หลายหน่วย) กริยาไม่ต้องเติม S
แค่นั้นเอง (จริงๆแล้ว คิดว่าคงเรียนมาแล้วล่ะครับ แต่เน้นเพื่อความเข้าใจอีกที คือเรียนมาแต่ไม่ได้ใช้ไง พอเวลาพูดหรือเขียน จะมีสักกี่คนใส่ใจเติม S ที่กริยาเอกพจน์)
1. เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และทำอย่างสม่ำเสมอ
เช่น He goes to school. แปลว่าเขาไปโรงเรียน (ทีนี้ เราจะใ่ส่คำว่า every day หรือ always เข้าไปในประโยคเพื่อเน้นก็แล้วแต่ แต่ให้รู้ว่าเขาไปโรงเรียนแล้วกัน)
2. เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ
เช่น The sun rises at 6.00 am.
พระอาทิตย์ขึ้นทุกวัน The wind blows ลมพัด มันเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ และเราก็พูดลอยๆ เหตุการณ์เหล่านี้จึงใช้เป็น Present Simple Tense ได้ครับ
มันมีคำ ที่บ่งบอกว่า ประโยคนี้เป็นการกระทำโดยสม่ำเสมอ โดยเติมไปในประโยค ทำให้รู้ว่าประโยคนี้ต้องเป็น present simple แหง๋ๆ
คำนั้นทำหน้าที่เป็น Adverb of Frequency ครับ เช่น always (เสมอๆ) sometimes (บางครั้ง)
หรือ ทำหน้าที่เป็น Adverb of Time เช่น every day, every month, every year ซึ่งตรงนี้ผมยังไม่เน้นนะครับ เดี๋ยวจะงงหนักไปกันใหญ่ เอาง่ายๆแค่นี้ก่อน
Past Simple Tense
หายไปสองสัปดาห์ นะครับ ต้องขออภัยอย่างแรงด้วย คือต้องทำธุระวันเสาร์อาทิตย์ด้วย เลยไม่มีเวลามาเขียนให้อ่านกัน เริ่มเลยดีกว่านะครับ
Past แปลว่า ผ่านมาแล้ว จริงๆแล้ว past simple tense เนี่ย ใช้ไม่ยากหรอกครับว่าจะใช้ตอนไหน ก็ใช้กับสิ่งที่ทำมาแล้วไงครับ (ตอบเหมือนกำปั้นทุบดินเลย) จริงๆนะครับ คือส่วนใหญ่แล้ว มันไม่ยาก เวลาพูดหรือเวลาใช้ภาษาอังกฤษเนี่ย ให้เราคิดว่า สิ่งนั้นมันเกิดขึ้นหรือยัง ถ้าเกิดขึ้นมาแล้ว ก็ให้ใช้ past simple tense ไปเลย (เพราะส่วนใหญ่เวลาพูดกันเนี่ย ไม่ค่อยใช้ past กันหรอกครับ ใช้ present กันหน้าตาเฉย ฝรั่งบางครั้งเลยงงว่า ตกลงมันเกิดขึ้นหรือยังฟะ)
I go to the temple (Present) ฉันไปวัด (อันนี้ไม่ได้เจาะจง)
I went to the temple. ฉันไปวัด (ไปมาแล้ว)
ว่าไงครับ เข้าใจง่ายกว่ากันเยอะ หรือจะให้เจาะจงขึ้นไปอีก ก็เติม adverb of time เข้าไปอีก (คำกริยาวิเศษณ์บอกเวลาไงครับ ขยายคำกริยาว่า ทำเมื่อไหร่)
I went to the temple last week. ฉันไปวัดเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว
I know what you did last summer. (คุ้นๆ นะเนี่ย)
สรุป สรุป สรุป การใช้ past simple tense ในกรณีที่
1) บอกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาแล้ว
2) เล่าเรื่องที่เกิดขึ้นมาแล้ว, เล่านิทาน, นิยาย, เทพนิยายอะไรก็แล้วแต่ ใช้ รูปอดีตครับผม
รูปของ Past Simple Tense คือ ประธาน + กริยาช่องที่สอง
ง่ายใช่ไหม ( a piece of cake แปลว่า ง่ายมั่กๆ อันนี้คนไทยใช้หมู ฝรั่งใช้เค้ก)
แต่ใน ความง่าย ก็มีความยากแฝงอยู่ คือ กริยาช่องที่สองนี่แหละครับ จะทำไง พกกริยาสามช่องนี่แหละครับ เล่มเล็กๆ ไม่กี่บาทก็มี พกติดตัวไปเลยครับ ถ้าอยากเก่งอังกฤษ ก็ท่องวันละคำสองคำ ปีนึงก็จำได้หมด (อยู่ที่ความพยายามและความมีวินัยครับ) จากเรื่องยากก็เป็นเรื่องง่ายไป
กฎ ของการเปลี่ยนกริยาก็มีอยู่บ้าง แต่ไม่ตายตัว ก็ต้องศึกษากันไปครับ
Future Tense
อนาคต อันนี้ง่ายเข้าไปใหญ่ ไม่ต้องไปสนใจกริยาช่องไหนๆ ด้วย ใช้เมื่อเราจะทำอะไร (จะ จะ จะ จะ จะ)
ก็ใส่ไปเลย will + กริยาช่องที่ 1 (จริงๆแล้วไม่ใช่กริยาช่องที่ 1 นะครับ แต่เป็น infinitive คือกริยาที่ไม่ผันตามประธาน อันนี้จะกล่าวถึุงทีหลังดีกว่านะครับ)
ฉันจะไป I will go.
เขาจะมา He will come.
สมัย ก่อนที่ผมเรียนตอนประถม จะต้องมีการแยกว่า ประธานตัวไหนใช้ will ตัวไหนใช้ shall แต่เดี๋ยวนี้ไม่มีแล้วครับ ใช้ will ให้หมด ส่วนใหญ่แล้ว shall จะใช้กับประโยคชักชวนหรือพูดให้ดูสุภาพมากกว่า
มีอยู่นิด นึง.. ถ้าเรากำลังจะทำแล้ว (คือกำลังจะทำน่ะ................จะพูดยังไงดี) คือเวลาใช้ will เนี่ย ระยะเวลามันไกลกว่าในปัจจุบันสักระยะหนึ่ง คือ จะทำพรุ่งนี้ ปีหน้า หรือเย็นนี้ ชาติหน้า อะไรยังเงี้ย..
ถ้าถ้าเรากำลังจะทำเดี๋ยวนี้แล้ว (คือ ไม่ใช่ จะ แต่ กำลังจะ) ให้ใช้ รูปนี้ครับ
ประธาน + V.to be + going to + infinitive
เช่น ฉันกำลังจะทำการบ้าน I am going to do my homework (อย่าไปแปลว่าฉันกำลังไปทำการบ้านเชียวนะครับ going to ตัวนี้ ไม่ใช่แปลว่ากำลังไป แต่แปลว่า กำลังจะ)
หรือบางทีก็ใส่ อย่างนี้เลยครับ I'm doing my homework ก็ใช้ได้เหมือนกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น